วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การเลือกทำเลที่ตั้งโรงโม่หิน


โรงโม่หิน



การเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม
(Selection of Plant Location)
การเลือกทำเลที่ตั้งเป็นโรงงานอุตสาหกรรม เป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้บริหารหรือ ผู้ประกอบการ เพราะการค้นหาว่าจะตั้งโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ที่ใดที่หนึ่ง จะมีผลโดยตรงต่อค่าใช้จ่ายทั้งที่เป็นต้นทุนคงที่ และตันทุนแปรผัน ซึ่งผลกำไรจากบริษัทจะได้รับผลกระทบทันทีหากตัดสินใจเลือกที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมไม่เหมาะสม แต่เมื่อมีความจำเป็นจะต้องเลือกสถานที่ตั้งโรงงานใหม่ ผู้บริหารหรือผู้ประกอบการก็จะต้องตัดสินใจวางแผนเลือกที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการดำเนินการ
ทำเลที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม
ทำเลที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม (Plant Location) หมายถึง สถานที่ที่สำหรับประกอบกิจกรรมทางธุรกิจขององค์การ เช่น โรงงาน โกดังสินค้า สำนักงานใหญ่ หรือสาขา เป็นต้น ที่ตั้งโรงงานจะมีความสำคัญต่อการผลิตและการดำเนินการ การเลือกที่ตั้งจึงเป็นกระบวนการในการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกำหนดสถานที่ที่ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้สะดวก และมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยพิจารณา ต้นทุน รายได้ ความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคลากร ลูกค้า ตลาด และวัตถุดิบ ตลอดจนสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานการเลือกทำเลที่ตั้งโรงงาน เป็นการตัดสินใจที่สำคัญของธุรกิจ เนื่องจากการลงทุนในแต่ละครั้งจะมีปริมาณสูงและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังการกำหนดที่ตั้งโรงงาน จะมีค่าใช้จ่ายและค่าเสียโอกาสเกิดขึ้น

1. การลงทุน (Investment) ปกติการลงทุนในสถานที่ อาคาร เครื่องจักร และ อุปกรณ์ จะต้องใช้เงินลงทุนสูงและเคลื่อนย้ายยาก ซึ่งผู้บริหารต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการเช่าหรือซื้อขาดว่าทางเลือกใดมีความเหมาะสมกว่ากัน2. ต้นทุนการบริหาร (Management Cost) การตัดสินใจเลือกที่ตั้งมีผลกระทบต่อการจัดการทางการเงินและต้นทุนการดำเนินงาน เนื่องจากที่ตั้งแต่ละแห่งมีต้นทุนที่แตกต่างกัน เช่น ค่าขนส่งสินค้าและวัตถุดิบ การติดต่อสื่อสาร และค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น3. การขยายกิจการ (Growth) การขยายตัวในอนาคตขององค์การทั้งด้านการดำเนินงานหรือตลาด ซึ่งผู้บริหารจะต้องพิจารณาข้อเปรียบเทียบของแต่ละทางเลือก เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความคับแคบในการดำเนินงานหรือให้บริการในอนาคต แต่ถ้าธุรกิจจัดเตรียมพื้นที่มากเกินไปจะเป็นการลงทุนที่ไม่มีผลตอบแทน ตลอดจนก่อให้เกิดต้นทุนที่สูงในการดำเนินงาน4. ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) เป็นประเด็นสำคัญในการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งจะมีผลกระทบต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของธุรกิจ ที่ตั้งที่เหมาะสมช่วยให้ต้นทุนการดำเนินงานของธุรกิจต่ำ ทั้งต้นทุนทางตรงและทางอ้อม ตลอดจนที่ตั้งที่เหมาะสมช่วยดึงดูดผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับธุรกิจ

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกที่ตั้งโรงงาน
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกที่ตั้งโรงงานมีอยู่มากมาย อย่างไรก็ตามมักปรากฏอยู่เสมอว่า มีเพียงปัจจัยไม่กี่อย่างที่มีผลสำคัญต่อการตัดสินใจ ตัวอย่างเช่น ในกรณีของโรงงานผลิตสินค้า ปัจจัยที่มีผลอย่างสำคัญต่อการเลือกที่ตั้งประกอบด้วย ความพร้อมทางด้านพลังงาน เส้นทางการขนส่ง และแหล่งวัตถุดิบ ตัวอย่างเช่น โรงงานอุตสาหกรรมเหล็กกล้าต้องอยู่ใกล้แหล่งพลังงานคือไฟฟ้า โรงงานปูนซีเมนต์ต้องอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ เป็นต้น นอกจากนี้เส้นทางการขนส่งทั้งทางน้ำ บก และอากาศ ก็จะมีผลอย่างสำคัญต่อต้นทุนการผลิตและจำหน่ายอย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกที่ตั้งของโรงงาน อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ปัจจัยที่เกี่ยวกับทรัพยากรการผลิต และปัจจัยที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมปัจจัยที่เกี่ยวกับทรัพยากรการผลิต ปัจจัยที่เกี่ยวกับทรัพยากรการผลิต ประกอบด้วย วัตถุดิบ ตลาดสินค้า แรงงาน ที่ดิน การขนส่ง แหล่งพลังงาน และสาธารณูปโภคต่าง ๆวัตถุดิบ (Material) การตัดสินใจเลือกที่ตั้งโรงงานที่ใกล้แหล่งวัตถุดิบมีเหตุผลหลัก คือเพื่อลดต้นทุนการผลิตอันเกิดจากการขนส่งวัตถุดิบ อุตสาหกรรมที่เลือกที่ตั้งโรงงานใกล้แหล่งวัตถุดิบ มักได้แก่อุตสาหกรรมทางการเกษตร และอุตสาหกรรมที่ต้องแร่ธาตุเป็นวัตถุดิบ ตัวอย่างเช่น โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานถลุงสังกะสี โรงงานสับปะรดกระป๋อง และโรงงานปลากระป๋อง เป็นต้น ทั้งนี้เพราะวัตถุดิบมีขนาดใหญ่น้ำหนักมากการขนส่งต้องเสียค่าใช้จายสูง และวัตถุดิบบางประเภทเกิดการเน่าเสียได้ง่าย จึงต้องรีบส่งเข้าโรงงานอย่างรวดเร็วตลาด (Market) โรงงานหรือการดำเนินการในลักษณะที่ใช้วัตถุดิบน้อย มักนิยมตั้งใกล้ตลาดสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจการด้านการบริการ เช่น โรงแรม โรงภาพยนตร์ และห้างสรรพสินค้า
การพิจารณาเลือกที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมว่าควรอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ หรืออยู่ใกล้ตลาด ดังนี้
1. เมื่อวัตถุดิบผ่านกรรมวิธีการผลิตในโรงงานแล้ว น้ำหนักเปลี่ยนแปลงไปน้อยมาก หรือน้ำหนักไม่เปลี่ยนแปลงเลย ลักษณะเช่นนี้โรงงานควรจะอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบมากกว่าตลาด เช่น โรงงานโม่หิน โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานถลุงแร่ เป็นต้น2. เมื่อวัตถุดิบผ่านกรรมวิธีการผลิตแล้ว น้ำหนักเปลี่ยนแปลงไปมากเมื่อผ่านกรรมวิธีการผลิต และสำเร็จเป็นสินค้าสำเร็จรูปออก กรณีโรงงานควรจะอยู่ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบเหมือนกัน ทั้งนี้เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งวัตถุดิบ เช่น โรงงานน้ำตาล ควรตั้งอยู่ใกล้ไร่อ้อย โรงงานทำสับปะรดกระป๋องควรตั้งอยู่ใกล้ไร่สับปะรด3. เมื่อวัตถุดิบมีอยู่ทั่วไป กรณีเช่นนี้ โรงงานควรจะอยู่ใกล้ตลาด ทั้งนี้ เพราะว่าผลผลิตที่ออกจากโรงงานจะได้ส่งเข้าจำหน่ายในตลาดทันที เมื่อโรงงานอยู่ใกล้ตลาดบางครั้งลูกค้าจะเข้ามาซื้อสินค้าได้โดยตรงในโรงงาน ซึ่งจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งลงไปอีก4. เมื่อวัตถุดิบเป็นของที่เน่าเสียหายง่าย เช่น กุ้ง ปลา ผลไม้ และผักต่าง ๆ อันเป็นวัตถุดิบของโรงงานทำอาหารกระป๋อง หรือผลไม้กระป๋อง โรงงานเช่นนี้ควรตั้งอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ และวัตถุดิบก็ควรจะมากพอด้วย เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพและลดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาวัตถุดิบ เสี่ยงต่อความเสียน้อย หากตั้งโรงงานไกลก็จะต้องมีการขนส่งอย่างรวดเร็วและต้องลงทุนในการเก็บรักษาวัตถุดิบเพิ่ม ซึ่งทั้งหมดจะทำให้ราคาสินค้าสำเร็จรูปสูงตามไปด้วย

หินที่ใช้ในการก่อสร้าง

หินที่ใช้ในการก่อสร้าง ได้แก่

1.หินทราย (Sandstone)


เป็นหินมีลักษณะ เนื้อหยาบ จับดูระคายมือ เพราะประกอบด้วยเม็ดทรายขนาดแตกต่างกัน (1/16 – 2 มม.) เม็ดแร่ส่วนใหญ่เป็นแร่ควอร์ตซ์ แต่อาจมีแร่อื่นและเศษหินดินปะปนอยู่ด้วย เพราะมีวัตถุประสารมีความแข็งมากสามารถขูดเหล็กเป็นรอยได้ มีสีต่าง ๆ เช่น แดง น้ำตาล เทา เขียว เหลืองอ่อน อาจแสดงรอยชั้นให้เห็น มีซากดึกดำบรรพ์
เกิดจากการรวมตัวกันของเม็ดทราย ประกอบด้วยควอร์ตซ์เป็นส่วนใหญ่ อาจมีแร่แมกเนไทต์และไมกาปะปนอยู่ วัตถุประสาร (ซีเมนต์) ส่วนมากเป็นพวกซิลิกา (ควอร์ตซ์ หรือ เชิร์ต) แคลไซด์โดโลไมต์ เหล็กออกไซด์ ซึ่งมักทำให้หินมีสีเหลือง น้ำตาล แดง
ในประเทศไทย พบมากทางภาคอีสาน จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี และทางภาคใต้บางแห่ง
หินทรายใช้เป็นวัสดุในการก่อสร้างทำถนน สร้างโบราณสถาน แกะสลักรูปปั้น

2.หินแกรนิต (Granite)



เป็นหินอัคนีแทรกซอน เนื้อหยาบถึงหยาบมาก ประกอบด้วย เฟลด์สปาร์ และควอรตซ์ เป็นส่วนใหญ่ และไมก้า หรือ ฮอร์นเบลนด์ ผลึกแร่อาจมีหนึ่งหรือสองขนาด ประโยชน์ ใช้ทำหินประดับ หินแกะสลักทำอนุสาวรีย์ วัสดุก่อสร้าง






3.หินกรวดมน (Conglomerate)


เป็นหินตะกอนเนื้อหยาบ ประกอบด้วยเศษหิน กรวดขนาดตั้งแต่ 2 มิลลิเมตร ขึ้นไป ฝังอยู่ในเนื้อพื้นละเอียดขนาดทรายหรือทรายแป้ง และมักมีวัตถุประสานจำพวกแคลเซียมคาร์บอเนต เหล็กออกไซต์ ซิลิกา หรือดิน กรวดเหล่านี้มีลักษณะมน หรือกลม เพราะน้ำพัดพามาไกลจากแหล่งกำเนิดเดิม ใช้ทำหินประดับ หินก่อสร้าง





4.หินไนส์ (Gneiss)

เป็นหินแปรเนื้อหยาบ ประกอบด้วย แร่ควอรตซ์ เฟลด์สปาร์ และไมกา สลับกันอยู่เป็นแถบ เกิดจากหินอัคนีถูกความร้อนและความดัน ทำให้แยกแร่สีเข้ม และสีอ่อนออกมา เรียงตัวขนานเป็นริ้วหรือแถบลายทางหยักคดโค้ง ห่างไม่สม่ำเสมอ ประโยชน์ใช้ทำหินประดับ หินแกะสลัก และก่อสร้าง










5.หินควอร์ตไซต์ (Quartzite)






หินแปรเนื้อละเอียด ประกอบด้วย แร่ควอรตซ์เป็นส่วนใหญ่ เนื้อละเอียด เป็นผลึกคล้ายน้ำตาลทราย แกร่งแต่เปราะ แปรสภาพมาจากหินทราย เนื่องมาจากได้รับความร้อนและความดันสูง ประโยชน์ใช้ทำหินก่อสร้าง อุตสาหกรรมแก้ว และวัสดุทนไฟ

เส้นชั้นความสูง (Contouring)



การอ่านเส้นชั้นความสูง (Contouring)






เส้นชั้นความสูง (Contouring) = Y : X


X คือ ระยะแนวราบหาได้จากแผนที่โดยมีสแกล 1:50000


Y คือ ความสูงความต่างชั้นของเส้นชั้นความสูง (Contouring)




ตารางค่าทีได้จากการอ่าน







วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สถาปนิก/วิศวกร ที่ชื่นชอบ



ศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์



ชื่อ-นามสกุล : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์

ตำแหน่ง : หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ที่ปรึกษาฝ่ายวางแผนและพัฒนา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หัวหน้าหมวดวิชาวิศวกรรมปฐพี

กรรมการคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมปฐพี วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย

กรรมการและเลขานุการ International Geosynthetics Society (IGS) - Thailand Chapter

อนุกรรมการ เพื่อพิจารณาจัดทำร่างกฎกระทรวงตามมาตรา 8 (2) และ (3) กำหนดลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารด้านวิศวกรรมโยธา

การศึกษา :

· ปริญญาเอก Civil Engineering (Soil Engineer), Utah State UniversityUSA.

· ปริญญาโท Civil Engineering (Soil Engineer) สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

ปริญญาตรี วิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สาขาที่เชี่ยวชาญ :

Dam Risk Assessment, Dam engineering, Geotechnical Earthquake Engineering of Earth Dams

· Landslide Hazard

· Probabilistic Analysis and Uncertainty Analysis in Geotechnical Engineering

· Ground Improvement Techniques

Advanced Geotechnical Engineering Laboratory, Field and Laboratory Instrumentations

ประสบการณ์ทำงาน :

อาจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ด้าน Soil Mechanics , Foundation Design, Pile Foundation, Foundation Engineering, Probabilistic and Reliability Based Design in Geotechnical Engineering ฯลฯ และเป็นอาจารย์พิเศษให้กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ

· เป็นที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยเขื่อน กรมชลประทาน

· หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเขื่อน กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี

· Dam Safety/Instrument and Material Expert กรมชลประทาน

· วิศวกรโยธาและหัวหน้าฝ่ายฝึกอบรม กรมชลประทาน

· หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์ความเสื่อง ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์

· หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเขื่อนและแผ่นดินไหว บริษัท กฟผ จำกัด (มหาชน)

ฯลฯ


งานวิจัยที่ผ่านมา

·พัฒนาเครื่องมือเพื่อผลิตดินเทียมโดยใช้หลักการของการตกตะกอนและ Pre-Consolidation

· ศึกษาการปรับปรุงคุณภาพดินโดยใช้หลักการขอ Thermal Consolidation เพื่อแก้ปัญหาการทรุดตัวในระยะยาวของชั้นดินเหนียวอ่อน

· ศึกษาทดลองและวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการลดปริมาณการใช้น้ำบาดาลและการเพิ่มระดับน้ำในชั้นน้ำบาดาลทางเทคนิค ซึ่งเป็นการทดลองในห้องทดลองและการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ร่วมกันในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงและผลกระทบทั้งหมดที่เกิดขึ้น

ฯลฯ

ผลงานวิจัยการออกแบบเครื่องมือ

· พัฒนาเครื่องมือเพื่อผลิตดินเทียมโดยใช้หลักการของการตกตะกอนและ Pre-Consolidation

· นำระบบการวัดและควบคุมด้านอิเลคโทรนิคและคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมและวัดค่าการทดลองด้านปฐพีวิศวกรรม

· พัฒนาเครื่องมือทดสอ Consolidation เพื่อทดสอบดินเหนียวในระดับลึกถึง 600 เมตร เพื่อสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อคาดการณ์การทรุดตัวเนื่องจากการใช้น้ำบาดาล

ฯลฯ



Land mark

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

จุดเด่นของ กรุงเทพมหานคร


เหตุผลที่ชอบ เป็นสถานที่ที่สำคัญอีกที่หนึ่งของกรุงเทพมหานคร
เป็นสถานที่ที่ใครๆก็รู้จัก อยู่ใจกลางเมือง เจริญรุ่งเรือง ทันสมัย
และเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์



Engineering geology msc course

Introduction

Engineering geology is concerned with the application of geology in engineering practice; it requires a quantitative knowledge of the behaviour of rock, soil, water and gas, as materials and en masse in both their uncontaminated and contaminated states.
These courses are career-orientated and intended to provide appropriate training for professional geologists and engineers.

Financial support for attending these courses is provided by arrangement with industry; details are available on request from the Course Director.

Full-time students complete the course over one calendar year, while part-time students have a one-year interval between the first and second taught terms to work on their dissertations.

Each course of study is integrated with the MSc courses in Soil Mechanics and Soil Mechanics and Environmental Geotechnics, and includes lectures, laboratory practicals, coursework, field courses and the preparation of a dissertation. Visits to civil engineering works, other sites and institutions are arranged as appropriate; there is a one-week study tour during the Easter vacation. The cost of travelling and subsistence will be approximately £700. In addition, independent fieldwork is usually required in connection with the dissertation.

The syllabus of lectures covers the full range of topics within the scope of engineering geology, including the related fields of soil mechanics, rock mechanics and groundwater hydrology and the application of engineering geology to the solution of problems in environmental geotechnics arising from waste disposal, waste management, urban renewal and sustainable engineering. There is an intensive supporting programme of tutorials, laboratory practicals and coursework, which amounts to about 200 contact hours.

To find out more on our courses, take a look at the following pages: